วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การตีดาบคาตานะ

                          ศตวรรตที่ 15 ดาบคาตานะเป็นดาบจับสองมือมีด้านคมด้านเดียวมีเอกลักษณ์ที่ความโค้งงอของดาบ ทำให้ดึงดาบออกจากฝักแล้วฝันได้ทันทีชาวญี่ปุ่นเชี่ยวชาญอสวุถที่มีคมด้านเดียวชาวยุโรปจะเชี่ยวชาญอาวุถมีคมด้านเดียว

                          วิธีการตีดาบขึ้นมาที่วับซ้อนและต้องใช้ความอดทนอย่างเหลือเชื่อ ดาบจะถูกตีขึ้นมาจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นวึ่งการตีดาบนั้นสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น จากพ่อสู่ลูก จากอาจารย์สู่ลูกศิษย์จึงเป็นอาวุถที่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณและประเพณี
                           ช่างตีดาบได้ทำการแบ่งเหล้กออกเป็น3ส่วน ส่วนแรกเป็นเหล้กอ่อนสอดไส้ดาบ ส่วนที่2เป็นเหล็กแข็งประกบข้างดาบ และส่วนสุดท้ายเป็นส่วนใบมีด เป็นเหล้กที่แข็งที่สุด ทำให้ดาบคมมาก



                          การตีดาบคาตานะจะใช้อุณหภูมิประมาณ800องศาเซลเซียส โดยช่างจะคัดเลือกชิ้นเหล็กที่ดีมาตีหลอมเข้าด้วยกันช่างจะตีเหล้กพับซ้อนกันทั้งหมด 22 ครั้งวึ่งจะเกิดชั้นโลหะ 22*22=4,194,304 ชั้นซึ่งจะทำให้มีความแข็งและยืดหยุ่นแล้วเกิดลายของดาบเสร็จแล้วจะทำการตีขึ้นรูปพอเป็นรูปดาบแล้วก็จะนำดาบมาทาดินเหนียวที่ขอบดาโดยทาบางที่คมดาบเพิ่อให้เกิดลวดลายที่คมดาบ แล้วนำเข้าเตาเผาการทำขอบดาบที่ปกคลุมด้วยดินเหนียวบางๆเย็นลงอย่างรวดเร็วเป็นการเก็บกักคาร์บอนไว้ในเหล็กด้วยความ
กดดันสูงทำให้เกิดเป็นคมดาบ ส่วนตัวดาบที่ดินเหนียว
ปกคลุมหนากว่าจะเย็นตัวช้ากว่าทำให้มีความยืดหยุ่น




                           จากนั้นจะเป็นการลับดาบ และขัดเงาลวดลายบนดาบที่เป็นรูปคลื่อนก็เกิดจากขั้นตอนนี้แหละโดยช่างลับจะใช้ดินเผาทาดาบเป็นรูปคลื่อนเพื่อป้องกันดาบไม่ให้เสียหายเวลาที่ถูกลับ ซึ่งขั้นตอนนี้ละเอียดอ่อนมาก การลับดาบต้องทำด้วยมือเปล่า

การตีดาบญี่ปุ่นนั้น แต่ละสำนักมีวิธีและเคล็ดลับแตกต่างกันไป แต่ยังคงพื้นฐานการตีดาบในแนวทางดั้งเดิมไว้เสมอ ดาบญี่ปุ่นเป็นดาบที่มีโครงสร้างเหล็กหลายชนิดมารวมกัน โดยจะแบ่งแยกชนิดการตีร่วมกับโครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างในตัวดาบจะแบ่งระดับเหล็กได้สามระดับ ดังนี้
         – ชินคะเนะ 心金 เป็นเหล็กที่มีความแข็งในระดับอ่อนที่สุด มีความยืดหยุ่น ไม่เปราะหักง่าย นิยมนำมาตีเป็นแกนกลางของดาบ เหล็กที่นำมาใช้มาจากเหล็กซาเกะฮะเนะ 下鋼 (โฮโชเตซึ 宝生鉄)
         – คาวะคะเนะ 側金 เป็นเหล็กที่มีความแข็งในระดับปานกลาง  มีความยืดหยุ่นและความแข็งระดับพอเหมาะ นิยมนำมาตีประกบ หรือตีหุ้มเป็นผิวนอกของดาบ เหล็กที่นำมาใช้มาจากเหล็กซาเกะฮะเนะ 下鋼 (โฮโชเตซึ 宝生鉄) แล้วตีอัดเพิ่มคาร์บอนในปริมาณที่สูงขึ้น
         – ฮะคะเนะ 刃金 เป็นเหล็กที่มีความแข็งมากที่สุด สามารถรักษาคมดาบได้ดี แต่มีความเปราะ นิยมนำมาตีเป็นส่วนคมของดาบ หรือตีหุ้มแกนใน เพื่อเป็นส่วนคมและผิวของดาบ เหล็กที่นำมาใช้มาจากเหล็กทามะกะฮะเนะ 玉鋼 (เนะบะกะนะ ねば鋼)
โครงสร้างของใบดาบ ซึคุริโคมิ 作り込み
           
1. มุคุ 全鋼 (มารุ 丸) เป็นการตีด้วยโลหะชนิดเดียว คือทามะกะฮะเนะ 玉鋼 (เนะบะกะนะ ねば鋼) และชุบแข็ง พบมากในดาบยุคชูโคะโตะ 上古刀
2. โคบุเซะ 甲伏せ เป็นการตีเหล็กสองชิ้นเข้าด้วยกัน คือตีเอาเหล็กทามะกะฮะเนะ 玉鋼 (เนะบะกะนะ ねば鋼) ตีห่อเหล็กซาเกะฮะเนะ 下鋼 (โฮโชเตซึ 宝生鉄) โดยเหล็กทามะกะฮะเนะ 玉鋼 (เนะบะกะนะ ねば鋼) จะเป็นฮะคะเนะ 刃金 และคาวะคะเนะ 側金 ส่วนเหล็กซาเกะฮะเนะ 下鋼 (โฮโชเตซึ 宝生鉄) เป็นไส้ใน ถึงมูเนะ 棟 จะเป็นชินคะเนะ 心金
3. ฮอนซันไม 本三枚 เป็นการตีแบบใช้เหล็กสามชนิดประกอบกัน ได้แก่ เหล็กชินคะเนะ 心金 เป็นแกนกลาง ถึงมูเนะ 棟 และคาวะคะเนะ 側金 เป็นผิวประกบด้านข้างของดาบ และฮะคะเนะ 刃金 เป็นพื้นที่ส่วนคมของดาบ
4. ชิโฮซุเมะ 四方詰 เป็นการตีด้วยเหล็กสามชนิด ในสี่ตำแหน่ง ได้แก่ ชินคะเนะ 心金เ ป็นแกนกลางของดาบ คาวะคะเนะ 側金 เป็นตัวประกบด้านข้างของดาบ และเป็นสันดาบ (มูเนะคะเนะ 棟金) ส่วนฮะคะเนะ 刃金 จะอยู่ที่ตำแหน่งคมดาบ
5. มาคุริ 巻合 เป็นรูปแบบการตีโดยใช้เหล็กสองชนิด ลักษณะคล้ายโคบุเซะ 甲伏せ แต่แตกต่างตรงที่ มาคุริ 巻合 จะเป็นการตีเหล็กสองชนิดให้เป็นแผ่นแบน แล้วตีพับ โดยใช้ชินคะเนะ 心金 เป็นแผ่นบน ฮะคะเนะ 刃金 เป็นแผ่นล่าง เมื่อตีพับขึ้นเป็นตัว V ทำให้ฮะคะเนะ 刃金 จะเป็นคมดาบและพื้นที่ผิวด้านข้าง ส่วนชินคะเนะ 心金 จะเป็นแกนในและเป็นมูเนะ 棟
6. เคียะคุโคบุเซะ 逆甲伏せ เป็นการตีเหมือนโคบุเซะ 甲伏せ แต่เป็นการกลับด้านกัน โดยเอาฮะคะเนะ 刃金 เป็นแกนในและเป็นคมดาบ และใช้คาวะคะเนะ 側金 ห่อเป็นแกนนอก
7. ซันไม 三枚合 เป็นการตีเหล็กประกบกันสองชนิด โดยใช้เหล็กสามแผ่น ตามชื่อในภาษาญี่ปุ่น ซันไม ที่แปลว่าสามแผ่น โดยสองแผ่นข้างใช้คาวะคะเนะ 側金 ส่วนแกนกลางใช้ฮะคะเนะ 刃金
8. โกะไม 五枚合 เป็นการตีแบบมาคุริ 巻合 แต่สอดแกนกลางด้วยชินคะเนะ 心金 หรือเป็นการซ้อนแผ่นเหล็กต่างชนิดกันเหมือนซันไม 三枚合 แต่ใช้เหล็กห้าแผ่นตีประกบ
9. โซชูคิตะเตะ 相北手, มาซะมูเนะชิชิไม 正宗七枚合 เป็นการตีโดยใช้แผ่นเหล็กเจ็ดแผ่น ซึ่งเป็นการคิดค้นของสายโซชูแด็ง โดยมาซะมูเนะ ใช้เหล็กชินคะเนะ 心金 เป็นแกนกลาง และขนาบข้างด้วยคาวะคะเนะ 側金 โดยใช้ฮะคะเนะ 刃金 ประกอบเป็นชั้นนอก และทำเป็นสันดาบกับคมดาบ
10. เฮียวชิกิ ひょうしぎ เป็นการตีเหล็กสองชนิด คือคาวะคะเนะ 側金 เป็นส่วนบน และฮะคะเนะ 刃金 เป็นส่วนล่าง พบได้ในสำนักที่สืบทอดสายยามะโต้แด็ง 大和伝
11. วาริฮะกะเนะ 割刃金 เป็นการตีรูปแบบคล้ายเคียะคุโคบุเซะ 逆甲伏せ แต่ตีสอดเหล็กฮะคะเนะ 刃金 แค่เพียงส่วนที่เป็นคมดาบ ไม่สูงถึงแกนกลางในตัวดาบ
12. ฮะริฮะกะเนะ 梁刃金 เป็นรูปแบบการตีเหล็กสองชนิดแนบกัน คือฮะกะเนะ 刃金 เป็นแผ่นบางที่คมดาบ ตีสอดขนานไปด้านริม ส่วนคาวะคะเนะ 側金 เป็นตัวดาบ พบได้ในดาบยุคโชโคะโตะ 上古刀 ในรูปแบบใบทรงคิริฮะซุคุริ 切刃逗り



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น